ผู้หญิงทั่วโลกป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และโรคนี้ยังเกิดกับผู้ชายได้อีกด้วย โรคนี้ทำให้หญิงสาวรู้สึกวิตกกังวลและมองหาหนทางที่จะป้องกันโรค
หลังจากที่ได้ทำการวิจัยมาเป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารธรรมชาติบางอย่างสามารถป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ ผลการศึกษายืนยันว่าสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหล่านี้ช่วยต้านมะเร็งเต้านมด้วยการควบคุมการเติบโตและการเผาผลาญพลังงานของเซลล์มะเร็ง
บทบาทของสารธรรมชาติที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมจะได้อธิบายไว้ในบทความนี้

เทียนดำ (black cumin)

เทียนดำเป็นพืชที่ใช้เป็นยาแผนโบราณมาเป็นเวลาร้อยปี โดยเชื่อว่าสามารถรักษามะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ อย่างได้ผล เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งไต และมะเร็งต่อมลูกหมาก
สารออกฤทธิ์ในเทียนดำ ได้แก่ สารไธโมควิโนน ซึ่งสกัดจากส่วนที่เป็นเมล็ด มีการศึกษาพบว่าสารไธโมควิโนนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และทำให้เซลล์มีกลไกการตาย (apoptosis) ตามปกติ (1)

  • การทดลองในหนูที่เป็นโรคมะเร็งพบว่า สารไธโมควิโนนช่วยลดจำนวน การเกิด และขนาดของเนื้องอกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (2)
  • การศึกษายังแสดงว่า สารไธโมควิโนนให้ผลโดยตรงในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งเต้านม (3)
  • เมื่อนำสารสกัดจากเทียนดำมาใช้ร่วมกับยาต้านมะเร็ง สามารถช่วยให้ยาทำงานต้านมะเร็งได้ดีขึ้น (4)
  • การรักษาด้วยวิธีรังสีรักษาร่วมกับการใช้สารไธโมควิโนน ช่วยให้เซลล์มะเร็งเกิดกระบวนการตาย และช่วยเปลี่ยนแปลงวงจรของเซลล์มะเร็งเต้านม (5)
  • การศึกษาพบว่า เทียนดำให้ประสิทธิผลดีในการหยุดการทำงานของเซลล์มะเร็งเต้านม แม้ในภาวะเครียดจากการออกซิเดชั่น (oxidative stress) (6)

สารอีจีซีจี

สารเอพิกาโลคาเทชิน กาเลท หรืออีจีซีจี (EGCG) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในชา ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันแพร่หลาย มีการศึกษามากมายเกี่ยวกับฤทธิ์ในการต้านโรคมะเร็งของสารอีจีซีจี โดยพบว่าเมื่อนำมาใช้กับมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ สารนี้สามารถยังยั้งการทำงานของเนื้องอกได้ (7)

  • สารอีจีซีจีช่วยให้เซลล์มะเร็งตาย และยังช่วยในกระบวนการตายตามธรรมชาติของเซลล์มะเร็งเต้านม (8)
  • สารอีจีซีจีมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันไม่ให้เซลล์ปกติถูกทำลาย และยังมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งจึงช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ที่ผิดปกติก่อตัวและเจริญเติบโตขึ้น สารนี้เป็นสารที่มีในธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ จึงสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้ (9)
  • เมื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กำลังรักษาด้วยรังสีรักษารับประทานสารอีจีซีอี พบว่าสารอีจีซีจีช่วยให้การใช้รังสีรักษาให้ผลดีขึ้นในคนไข้เหล่านี้ (10)
  • การใช้สารป้องกันมะเร็งอื่น ๆ เช่น เคอร์คูมินร่วมกับอีจีซีจี ทำให้ได้ผลดีขึ้น (11)
  • สารอีจีซีจียังช่วยลดภาวะสูญเสียมวลกล้ามที่เกิดจากโรคมะเร็งได้อีกด้วย (12)

กระเทียม

กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคและการปรุงอาหารมานานกว่า 7,000 ปี เชื่อกันว่ากระเทียมมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา สารออกฤทธิ์ในกระเทียมมีชื่อว่า สารอัลลิซิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อรา

  • สารที่สกัดสด ๆ จากกระเทียมที่ทุบแล้วช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์มะเร็งเต้านม (13)
  • คุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งของกระเทียมเป็นผลจากสารที่มีส่วนประกอบของกำมะถันซึ่งละลายในน้ำมันได้ (14)
  • จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากกระเทียมมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (15)
  • การศึกษาพบว่า กระเทียมสามารถลดผลข้างเคียงจากยาต้านมะเร็งได้ (16)

สารจีนิสทีน

สารจีนิสทีน (Genistein) เป็นสารประกอบที่ได้จากถั่วเหลือง การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ประชากรที่ได้รับสารไอโซฟลาโวน (isoflavone) จากการรับประทานถั่วเหลือง มีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมน้อยกว่า

  • สารจีนิสทีนอาจมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นไปทำลายเซลล์มะเร็งเต้านม (17)
  • การศึกษาพบว่า การรับประทานถั่วเหลืองอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย (18)
  • สารจีนิสทีนออกฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยยับยั้งการสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงเนื้องอก (19)
  • การออกฤทธิ์ของสารจีนิสทีนจะขึ้นอยู่กับว่าความเข้มข้นของสารนี้ในเนื้อเยื่อเต้านม (20)
  • จากการศึกษาพบว่า สารจีนิสทีนที่ความเข้มข้นต่าง ๆ กันจะทำให้เกิดการตอบสนองในเซลล์มะเร็งด้วยกลไกการส่งสัญญาณที่แตกต่างกัน ผลที่ได้นี้อาจเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่เป็นหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนและรับประทานถั่วเหลือง (21)
  • ได้มีการทดลองในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์เพศเมีย เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ของสารไลโคปีนและจีนิสทีนไม่ว่าจะเป็นการใช้สารแต่ละชนิดเดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกันทั้งสองชนิด พบว่าเมื่อใช้สารไลโคปีนและสารจีนิสทีนร่วมกัน จะช่วยให้ก้อนเนื้อมะเร็งเต้านมจะมีสัดส่วนลดลง และช่วยยับยั้งการพัฒนาของโรคมะเร็งเต้านมด้วย ผลการศึกษาแสดงให้ว่าสารไลโคปีนและจีนิสทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ผลดีมาก และเมื่อใช้สารทั้งสองชนิดร่วมกันจะสามารถป้องกันการก่อตัวของมะเร็งเต้านมได้ดีที่สุด

โสม

โสมเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบเฉพาะในซีกโลกเหนือ และมีการนำโสมมาใช้บำรุงสุขภาพเป็นระยะเวลายาวนานมาแล้ว

  • โสมออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งเต้านมโดยลดโอกาสการอยู่รอดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเต้านมไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายอีกด้วย (23)
  • การใช้โสมร่วมกับยาต้านมะเร็งช่วยให้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเนื้องอกได้ดีกว่าการยาต้านมะเร็งเพียงอย่างเดียว (24)
  • กลไกการออกฤทธิ์ของโสมเกิดจากสารออกฤทธิ์ชื่อ เจนซิโนไซด์ ซึ่งช่วยลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเต้านม และลดความเสถียรของโปรตีนในเซลล์มะเร็งเต้านม (25)

สารอินโดล-3-คาร์บินอล

สารอินโดล-3-คาร์บินอลเป็นสารประกอบที่มาจากสารออกฤทธิ์ที่พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว คะน้าฝรั่ง และเคล เป็นต้น

  • สารนี้มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง (26)
  • การศึกษาแสดงว่ากลยุทธ์การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยสารอินโดล-3-คาร์บินอลและอนุพันธ์ของสารนี้ อาจช่วยยับยั้งการทำงานของสารที่ผลิตมะเร็งเต้านม (27)

สารไลโคปีน

สารไลโคปีนเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งที่พบในมะเขือเทศและผักสีแดงชนิดอื่น ๆ เช่น แครอทสีแดง พริกหวานสีแดง แตงโม ฟักข้าว และมะละกอ เป็นต้น

  • สารนี้อาจช่วยต้านมะเร็งได้ ซึ่งการรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นจะช่วยเพิ่มปริมาณสารที่ช่วยลดการทำลายเซลล์โดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
  • สารดังกล่าวได้แก่ ไลโคปีน วิตามิน และสารอื่น ๆ

ซิลิเนียม

ซิลิเนียมพบในถั่ว ธัญพืช เนื้อสัตว์ เห็ด ปลา และไข่ ส่วนถั่วบราซิลเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติที่พบซิลิเนียมได้มากที่สุด
อาหารที่มีปริมาณซิลิเนียมเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ไต ปลาทูน่า ปู และกุ้งมังกร

  • ซิลิเนียมมีฤทธิ์ในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม (29)
  • งานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต้านมะเร็งของซิลิเนียมแสดงให้เห็นว่า ซิลิเนียมช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์และสามารถนำมาใช้รักษาและป้องกันมะเร็งได้
  • ส่วนซิลิโนโปรตีนเป็นโปรตีนที่เปลี่ยนรูปด้วยซิลิเนียมที่เข้ารหัสทางพันธุกรรม และความสำคัญมากในการตอบสนองต่อภาวะเครียดจากการออกซิเดชั่น และการควบคุมกระบวนการเผาผลาญพลังงานต่าง ๆ

วิตามินดี

วิตามินดีพบในน้ำมันตับปลา เช่น น้ำมันตับปลาค็อด และปลาไขมันสูง เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน และปลาแมคเคอเรล นอกจากนี้การรับประทานไข่ทั้งฟอง ตับวัว อัลฟาฟา เห็ด และการสัมผัสกับแสงแดด ก็ให้วิตามินดีแก่ร่างกายได้เช่นกัน

  • แหล่งสำคัญของวิตามินดีก็คือ การผลิตวิตามินดีขึ้นเองในร่างกายหลังจากการถูกแสงแดด สิ่งที่ควรทราบคือ คนไข้โรคมะเร็งจะปริมาณวิตามินดีในร่างกายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (32)
  • นอกจากนี้การถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้ดีกว่าการถูกแสงแดดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ (33)
  • เป็นที่ทราบมานานแล้วว่า วิตามินดีมีบทบาทในการรักษาสุขภาพของกระดูก และความเข้มข้นของวิตามินดียังเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมอีกด้วย (34)
  • มีการแนะนำว่า การที่คนไข้ได้รับวิตามินในระดับที่แตกต่างกัน อาจมีผลทำให้อัตราการเสียชีวิตของคนไข้แตกต่างกันไปด้วย (35)
  • การศึกษาทางนิเวศวิทยาของหลาย ๆ ประเทศแสดงให้เห็นว่าการขาดวิตามินดีมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง (36)

บทสรุป

โรคมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในผู้หญิง การป้องกันมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งที่วงการวิจัยเรื่องโรคมะเร็งให้ความสนใจมาก การค้นพบว่าสารประกอบจากธรรมชาติเหล่านี้มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งจึงเป็นความหวังครั้งใหม่สำหรับผู้หญิงในการป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งเต้านม การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงควรใช้สารประกอบจากธรรมชาติเหล่านี้ในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

ที่มา: Dr. Adem Gunes

เอกสารอ้างอิง:

  1. Afr J Tradit Complement Altern Med. 2011;8(5 Suppl):226-32. doi: 10.4314/ajtcam.v8i5S.10. Epub 2011 Jul 3..
  2. Oncol Lett. 2010 Sep;1(5):913-924. Epub 2010 Sep 1.
  3. Anticancer activity of thymoquinone in breast cancer cells: possible involvement of PPAR-γ pathway. Biochem Pharmacol. 2011 Sep 1;82(5):464-75. doi: 10.1016/j.bcp.2011.05.030. Epub 2011 Jun 14.
  4. Hormetic/Cytotoxic Effects of Nigella sativa Seed Alcoholic and Aqueous Extracts on MCF-7 Breast Cancer Cells Alone or in Combination with Doxorubicin. Cell Biochem Biophys. 2012 Dec 15. [Epub ahead of print].
  5. Radiosensitization in human breast carcinoma cells by thymoquinone: role of cell cycle and apoptosis. Cell Biol Int. 2011 Oct;35(10):1025-9. doi: 10.1042/CBI20100701.
  6. Effect of Nigella sativa (N. sativa L.) and oxidative stress on the survival pattern of MCF-7 breast cancer cells. Biomed Sci Instrum. 2003;39:359-64.
  7. Pharmacol Res. 2011 Aug;64(2):113-22. doi: 10.1016/j.phrs.2011.03.001. Epub 2011 Mar 21.) .
  8. Epigallocatechin gallate induce cell death and apoptosis in triple negative breast cancer cells Hs578T. J Drug Target. 2012 Nov 19. [Epub ahead of print].
  9. Green tea catechin, epigallocatechin-3-gallate (EGCG): mechanisms, perspectives and clinical applications. Biochem Pharmacol. 2011 Dec 15;82(12):1807-21. doi: 10.1016/j.bcp.2011.07.093. Epub 2011 Jul 30..
  10. Anti-cancer activities of tea epigallocatechin-3-gallate in breast cancer patients under radiotherapy. Curr Mol Med. 2012 Feb;12(2):163-76.
  11. Suppression of esophageal cancer cell growth using curcumin, (-)-epigallocatechin-3-gallate and lovastatin. World J Gastroenterol. 2012 Jan 14;18(2):126-35. doi: 10.3748/wjg.v18.i2.126..
  12. Epigallocatechin-3-gallate effectively attenuates skeletal muscle atrophy caused by cancer cachexia. Cancer Lett. 2011 Jun 1;305(1):40-9. doi: 10.1016/j.canlet.2011.02.023.
  13. Fresh Garlic Extract Induces Growth Arrest and Morphological Differentiation of MCF7 Breast Cancer Cells. Genes Cancer. 2012 Feb;3(2):177-86. doi: 10.1177/1947601912458581.
  14. Diallyl trisulfide induces apoptosis in human breast cancer cells through ROS-mediated activation of JNK and AP-1. Biochem Pharmacol. 2012 Nov 15;84(10):1241-50. doi: 10.1016/j.bcp.2012.08.024. Epub 2012 Sep 6.
  15. In vitro cytotoxic effect of garlic extract on malignant and nonmalignant cell lines. Immunopharmacol Immunotoxicol. 2011 Dec;33(4):603-8. doi: 10.3109/08923973.2011.551832. Epub 2011 Mar 23.
  16. Anticancer effects of garlic and garlic-derived compounds for breast cancer control. Anticancer Agents Med Chem. 2011 Mar;11(3):249-53.
  17. Soy isoflavone genistein induces cell death in breast cancer cells through mobilization of endogenous copper ions and generation of reactive oxygen species. Mol Nutr Food Res. 2011 Apr;55(4):553-9. doi: 10.1002/mnfr.201000329. Epub 2010 Dec 6.
  18. Oncogenicity evaluations of chemopreventive soy components in p53((+/-)) (p53 knockout) mice. Int J Toxicol. 2006 May-Jun;25(3):219-28..
  19. The novel targets for anti-angiogenesis of genistein on human cancer cells. Biochem Pharmacol. 2005 Jan 15;69(2):307-18. Epub 2004 Nov 19..
  20. Antiproliferative activity of daidzein and genistein may be related to ERα/c-erbB-2 expression in human breast cancer cells. Mol Med Report. 2013 Jan 21. doi: 10.3892/mmr.2013.1283. [Epub ahead of print].
  21. Physiological concentrations of genistein and 17β-estradiol inhibit MDA-MB-231 breast cancer cell growth by increasing BAX/BCL-2 and reducing pERK1/2. Anticancer Res. 2012 Apr;32(4):1181-91.
  22. Nutr Cancer. 2011 Nov;63(8):1279-86. doi: 10.1080/01635581.2011.606955. Epub 2011 Sep 29.
  23. Natural product ginsenoside 25-OCH3-PPD inhibits breast cancer growth and metastasis through down-regulating MDM2. PLoS One. 2012;7(7):e41586. doi: 10.1371/journal.pone.0041586. Epub 2012 Jul 23.
  24. Anticancer effects of 5-fluorouracil combined with warming and relieving cold phlegm formula on human breast cancer. Chin J Integr Med. 2012 Aug;18(8):599-604. doi: 10.1007/s11655-011-0878-9. Epub 2011 Dec 8.
  25. Ginsenoside Rp1 from Panax ginseng exhibits anti-cancer activity by down-regulation of the IGF-1R/Akt pathway in breast cancer cells. Plant Foods Hum Nutr. 2011 Sep;66(3):298-305. doi: 10.1007/s11130-011-0242-4.
  26. Quantitative inter-relationships between aflatoxin B1 carcinogen dose, indole-3-carbinol anti-carcinogen dose, target organ DNA adduction and final tumor response. Carcinogenesis. 1989 Jan;10(1):175-81.
  27. Targeting of aryl hydrocarbon receptor-mediated activation of cyclooxygenase-2 expression by the indole-3-carbinol metabolite 3,3′-diindolylmethane in breast cancer cells. J Nutr. 2009 Jan;139(1):26-32. doi: 10.3945/jn.108.099259. Epub 2008 Dec 3.
  28. Heme of consumed red meat can act as a catalyst of oxidative damage and could initiate colon, breast and prostate cancers, heart disease and other diseases. Med Hypotheses. 2007;68(3):562-4. Epub 2006 Oct 11..
  29. Inhibitory Effects and Molecular Mechanisms of Selenium-Containing Tea Polysaccharides on Human Breast Cancer MCF-7 Cells. J Agric Food Chem. 2013 Jan 9. [Epub ahead of print].
  30. Lessons from basic research in selenium and cancer prevention. J Nutr. 1998 Nov;128(11):1845-54..
  31. Selenoproteins in bladder cancer. Clin Chim Acta. 2012 May 18;413(9-10):847-54. doi: 10.1016/j.cca.2012.01.041. Epub 2012 Feb 12..
  32. Vitamin D in colorectal, breast, prostate and lung cancer: a pilot study. Anticancer Res. 2011 Oct;31(10):3619-21.
  33. Is prevention of cancer by sun exposure more than just the effect of vitamin D? A systematic review of epidemiological studies. Eur J Cancer. 2012 Dec 10. pii: S0959-8049(12)00885-4. doi: 10.1016/j.ejca.2012.11.001. [Epub ahead of print].
  34. Vitamin D and breast cancer: Emerging concepts. Cancer Lett. 2012 Nov 8. pii: S0304-3835(12)00639-8. doi: 10.1016/j.canlet.2012.10.034. [Epub ahead of print].
  35. Differences in vitamin D status may account for unexplained disparities in cancer survival rates between African and white Americans. Dermatoendocrinol. 2012 Apr 1;4(2):85-94. doi: 10.4161/derm.19667.
  36. Ecological studies of the UVB-vitamin D-cancer hypothesis. Anticancer Res. 2012 Jan;32(1):223-36.