โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งถึง 11 ชนิด
“โรคอ้วนเป็นภัยร้ายของระบบสาธารณสุขที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งบางชนิด
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลกในปัจจุบัน แพทย์ได้เตือนให้ระวังภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง
โรคอ้วนกับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง
คนจำนวนมากไม่ทราบว่าภาวะเนื้อเยื่อไขมันมากทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น หน่วยงานที่ให้บริการดูแลสุขภาพปฐมภูมิสามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำหนักตัวเกินในผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แห่งสหราชอาณาจักรแสดงหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนว่าโรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งถึง 11 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหาร (ได้แก่ โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งไต โรคมะเร็งทางเดินน้ำดี โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรคมะเร็งไขกระดูก และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร) และโรคมะเร็งเกี่ยวกับฮอร์โมนในผู้หญิง (ได้แก่ โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก)
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการทบทวนเปรียบเทียบการศึกษาวิเคราะห์ที่ใช้ข้อมูลจากการศึกษาหลายอย่างรวมกัน และการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ จำนวน 204 การศึกษา เพื่อศึกษาว่าการมีระดับไขมันในร่างกายสูงเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเกิดโรคมะเร็ง
ผลการทบทวนเปรียบเทียบนี้สามารถแบ่งความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างโรคอ้วนและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งได้ดังนี้ เกี่ยวข้องมาก ร้อยละ 18, เกี่ยวข้อง ร้อยละ 25%, ไม่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 20 และไม่มีหลักฐาน ร้อยละ 25
นักวิจัยพบว่า หากดัชนีมวลกาย (BMI) เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งไต โรคมะเร็งทางเดินน้ำดี โรคมะเร็งตับอ่อน และโรคมะเร็งไขกระดูก ในผู้ชายพบว่า ดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นทุก 5 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และในผู้หญิงพบว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ส่วนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก เช่น ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งทางเดินน้ำดีจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56 หากดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้นทุก 5 กิโลกรัม/ตารางเมตร
การศึกษานี้มีข้อจำกัดที่สำคัญเพียงประการเดียวคือไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนว่าดัชนีมวลกายที่สูงเกินไปมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคมะเร็งอย่างไร ซึ่งหนึ่งในนักวิจัยชื่อ กันเตอร์ ได้เสนอคำอธิบายว่า “”เราทราบว่าภาวะน้ำหนักเกินจะไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนและการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย”” เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น การอักเสบเพิ่มขึ้น และระดับอินซูลินก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อกลไกการแบ่งตัวของเซลล์
โรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่ 2 ของโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้
ด็อกเตอร์ราเชล ออร์ริทท์ จากสถาบันการวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า โรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดอันดับ 2 ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรองจากการสูบบุหรี่ และเป็นสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ เธอจึงให้แนะนำให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อจะได้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง
ไม่ใช่เฉพาะคนอ้วนเท่านั้นที่มีความเสี่ยงนี้ แต่ผู้ที่ไขมันส่วนเกินก็เสี่ยงเช่นกัน ซึ่งคนจำนวนมากจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ หากต้องการลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง ผู้ที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าก็ควรจะรับประทานอาหารต้านมะเร็งเฉพาะบุคคล รักษาสุขภาพและหมั่นแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล และรับการรักษาแบบล้างพิษ
อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับไขมันในร่างกายเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อสรุปว่าโรคอ้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นมะเร็งหรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอย่างไร
โปรดติดต่อเราหากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ของเราจะติดต่อคุณโดยเร็วที่สุด
Source: BMJ