การทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารตายอาจเป็นวิธีใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งซึ่งเป็นหนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของมนุษยชาติมาเป็นเวลาอันยาวนาน

เซลล์ที่เติบโตผิดปกติ เรียกว่า มะเร็ง (ซึ่งมีมากกว่า 100 ชนิด) ซึ่งเป็นภัยร้ายของมนุษย์มานานนับพันปี บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราชที่ประเทศอียิปต์ แต่จริง ๆ แล้วโรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดขึ้นมานานยิ่งกว่านั้น เมื่อปี 2015 องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์สถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวน 8.8 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ถึง 14 ล้านคนในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกยังระบุว่าจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่คาดว่าจะสูงขึ้นถึงร้อยละ 70 ในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า และการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งโดยตรงมีมากถึง 1 ใน 6 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก

สถิติที่น่ากังวลนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพยายามคิดค้นวิธีรักษาและต่อสู้กับโรคมะเร็งที่ช่วยให้ผู้ป่วย ‘ทุกข์ทรมานน้อยกว่า’ ความโหดร้ายของโรคมะเร็งถูกวิทยาศาสตร์แก้แค้นด้วยวิธีการที่โหดร้ายพอ ๆ กัน ดังที่ศาสตราจารย์เจฟฟ์ โฮลสท์ จากสถาบันเซนเทนารี ได้กล่าวไว้ว่าการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการที่รุนแรงอย่างการใช้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา เปรียบได้กับ ‘การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ทำลายล้างโรคมะเร็ง’ โดยหวังว่าจะสามารถรักษาโรคมะเร็งให้หายได้ แต่การใช้ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาก็มีผลข้างเคียงตามมาน้อยที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับวิธีการที่ผ่านมาในอดีต


รักษาโรคมะเร็งด้วยการทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหาร

ศาสตราจารย์โฮลสท์และทีมนักวิจัยที่ซิดนีย์ได้ค้นพบวิธีรักษาโรคมะเร็งโดยทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารตาย เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และเซลล์มะเร็งผิวหนัง เป็นเซลล์ที่มีความทนทานมากเซลล์เหล่านี้ใช้กรดอะมิโนชื่อ กลูตามีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดที่เซลล์ปกติไม่ต้องใช้ ทั้งนี้โรคมะเร็งเต้านมชนิดที่มีผลการตรวจตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โปรเจสเตอโรน และผลผลิตของยีน HER2 เป็นลบทั้งสามชนิด (โรคมะเร็งเต้านมชนิด Triple Negative) โรคมะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิด และโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา ได้ชื่อว่าเป็นโรคมะเร็งที่รักษาหายยาก และเซลล์ของมะเร็งเหล่านี้ต้องใช้กรดอะมิโนกลูตามีนสำหรับการอยู่รอด แบ่งตัว และกระตุ้นการเจริญเติบโต หากเซลล์มะเร็งขาดกรดอะมิโนชนิดนี้ก็จะขาดอาหารตาย จริง ๆ แล้ววงการวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าเซลล์มะเร็งมีวิธีใช้สารอาหารที่แตกต่างไปจากเซลล์ปกติ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ตราบจนถึงปัจจุบัน

 

ปัจจุบันศาสตราจารย์โฮลสท์กำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยายับยั้งการดูดซึมกลูตามีนของเซลล์มะเร็ง ยาดังกล่าวจะไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหาร (กลูตามีน) ที่เยื่อบุผิวของเซลล์ ทำให้เซลล์ขาดสารอาหาร ศาสตราจารย์โฮลสท์เปรียบเทียบกระบวนการเช่นนี้ว่าเป็นเหมือน ‘การปิดปากไม่ให้เซลล์กินอาหาร’ ยานี้ยังอยู่ในกระบวนพัฒนาเบื้องต้นและจะเริ่มทำการทดลองทางคลินิกในอีก 3 ปีข้างหน้า

 

ศาสตราจารย์โฮลสท์กล่าวด้วยว่า หากโรคมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำอีก เซลล์มะเร็งจะต้องอาศัยโปรตีนกลูตามีนในการดำรงชีวิต ยาที่พัฒนาขึ้นนี้จึงอาจเป็นความหวังของผู้ป่วยที่โรคมะเร็งกลับมาอีก ในอนาคตเมื่อยานี้ได้รับการพัฒนาและทดสอบเรียบร้อยแล้ว อาจมีการนำไปใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งกลับมาอีก

 

หากยาชนิดใหม่นี้ได้ผลดีจริง อาจนำไปใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีการแบบองค์รวม ซึ่งเป็นการรักษาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ผลดีและแทบไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด

Verita Life - Contact a Specialist banner

Source: The West Australian