วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันที่คนทั่วโลกมาร่วมกันทบทวนเรื่องความก้าวหน้าในการต่อสู้กับโรคมะเร็งร้าย และช่วยกันสร้างความตระหนักเรื่องโรคมะเร็ง คิดค้นยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคนี้ ตลอดจนกำหนดนโยบายระดับชาติและระดับโลกที่ช่วยบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากโรคมะเร็ง วันมะเร็งโลกในปี 2016-2018 มีแคมเปญการรณรงค์ว่า “เราทำได้ คุณก็ทำได้ ห่างไกลมะเร็งไปด้วยกัน” ซึ่งเน้นว่าสิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อสู้กับมะเร็งร้ายได้ก็คือการแต่ละคนเข้ามามีบทบาทและร่วมแรงร่วมใจไปด้วยกันนั่นเอง

สถิติโรคมะเร็งทั่วโลก

สถิติเกี่ยวกับโรคมะเร็งเป็นตัวเลขที่น่าหนักใจ ในแต่ละปีจะมีคนจำนวนมากถึง 14 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยมีคนประมาณ 8 ล้านคนเสียชีวิตเพราะโรคมะเร็ง
วันมะเร็งโลกกำหนดขึ้นโดยสหภาพควบคุมโรคะเร็งสากล (UICC) เพื่อสนับสนุนคำประกาศต่อสู้กับมะเร็งทั่วโลกที่ได้ประกาศไว้เมื่อปี 2008 ซึ่งในปีนี้และทุก ๆ ปีใช้แคมเปญหลักคือ การตรวจคัดกรองป้องกันมะเร็งช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตจากมะเร็ง โดยมีแรงจูงใจสำคัญคือการปกป้องชีวิตของคุณเองและสมาชิกในครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง แคมเปญนี้จะสำเร็จได้ด้วยการให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้คนทั่วไปหันมาต่อสู้กับโรคร้ายนี้
ยุคปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ประชากรในโลกสามารถสื่อสารถึงกันได้ออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลแคมเปญนี้จึงทำได้ง่ายขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่าคนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปที่ยังยากจนทำให้ข้อมูลข่าวสารอาจไม่ทั่วถึง การสื่อสารด้วยวิธีการดั้งเดิมจึงยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการส่งข่าวสารและนำเสนอวิธีป้องกันและต่อสู้กับพิษภัยและการพัฒนาของโรคมะเร็งไปยังคนจำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

แม้การเกิดโรคมะเร็งจะมีสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการอาจสร้างสภาวะที่เหมาะสมกับสำหรับการเกิดโรคมะเร็ง และทำให้มะเร็งสามารถเกิดและเติบโตในร่างกายได้ ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง (เช่น เป็นโรคเอดส์และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง) ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย และโรคที่ร้ายแรงที่สุดก็คือโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องอายุ ซึ่งคนไข้โรคมะเร็งส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปี ส่วนปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป (และรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ) การสูบบุหรี่ และการสัมผัสแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งได้แก่ ภาวะอ้วน (ซึ่งมักเกิดจากการไม่ออกกำลังกาย) การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคมะเร็ง ส่วนการเพิ่มจำนวนของโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยสารพิษอาจไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก เพราะหน่วยงานราชการส่วนใหญ่กำหนดให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชนอยู่แล้ว

ผู้คนหวังกันว่า โปรแกรมสร้างความตระหนัก การบรรยาย การชุมนุม การจัดงานสัมมนาและค่ายต่าง ๆ ทั่วโลก อาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
นอกจากนี้ยังมีความหวังว่าการรักษาโรคมะเร็งแบบการแพทย์ทางเลือกที่สามารถใช้ทดแทนการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ การใช้ยาเคมีบำบัด การทำรังสีรักษา และการผ่าตัด (ซึ่งมีผลข้างเคียงมากมาย) จะได้รับการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รู้จัก และใช้วิธีเหล่านี้ในการรักษามะเร็ง ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาสุขภาพของร่างกายโดยรวมได้ด้วย
คลินิกเวอริต้า ไลฟ์ตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการแบบองค์รวมในการรักษาโรคมะเร็ง หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวต้องการความช่วยเหลือ โปรดติดต่อเราโดยเร็วที่สุด เรายินดีอย่างยิ่งที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการการรักษามะเร็งแบบองค์รวมที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

Verita Life - Contact a Specialist banner